ชิ้นส่วนยานยนต์แบ่งเป็นกี่ประเภท และมีอะไรกันบ้าง

18031 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชิ้นส่วนยานยนต์

ชิ้นส่วนยานยนต์แบ่งเป็นกี่ประเภท และมีอะไรกันบ้าง

ประเทศไทยมีการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากมาย แต่มันมีกี่ประเภทและแบ่งออกมาอย่างไร


      อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศไทย ที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ ในฐานะฐานการผลิตรถยนต์ระดับโลก ที่มีการผลิตรถยนต์ปีละกว่า 2 ล้านคัน สำหรับตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ทำให้ประเทศไทยมีผู้ผลิตรถยนต์เข้ามาลงทุนหลายราย รวมถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นับพันโรงงาน

      ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เติบโต แต่อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หรือ Automotive parts ก็ขยายตัวตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่และรายย่อยจำนวนมาก เข้ามาตั้งรกรากทำธุรกิจกันอยู่ ซึ่งจำนวนของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยนั้น เติบโตขึ้นตลอดเวลา ทั้งการเข้ามาลงทุนเพิ่มจากผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างประเทศ และการขยายตัวของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยเอง

      มีตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ ว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยได้สร้างงานให้กับแรงงานมากกว่า 100,000 คนต่อปีมาโดยตลอด และมีจำนวนบริษัทผู้ผลิตมากกว่า 1,500 ราย ที่ก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 2,000 แห่งในปัจจุบัน โดยกระจายตัวในเขตอุตสาหกรรมทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงในจังหวัดที่มีโรงงานผลิตรถยนต์ตั้งอยู่

      ชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีการผลิตในประเทศไทยนั้นมีอย่างหลากหลายและครอบคลุม จากความต้องการของผู้ผลิตรถยนต์เองและการสนับสนุนของภาครัฐให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนระบบกันสะเทือน ชิ้นส่วนระบบเบรก ชิ้นส่วนตัวถัง ชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนระบบขับเคลื่อ ชิ้นส่วนตกแต่งภายใน รวมไปชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ก็เช่นกัน ทำให้มีการตั้งคำถามกันว่า หากต้องการแบ่งประเภทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แล้ว มีหลักเกณฑ์อะไรกัน

      บ้างที่สามารถคัดกรองประเภทของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ออกมาได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็มีอยู่หลายหลักเกณฑ์ที่สามารถนำมาแบ่งแยกได้ ทั้งรูปแบบการทำธุรกิจ ประเภทการใช้งานชิ้นส่วน หรือกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน นั่นเอง

วิธีแรกก็คือ การดูจากรูปแบบของการทำธุรกิจของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ๆ ประกอบไปด้วย

  1. บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Tier-1) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการส่งชิ้นส่วนสำเร็จรูปเข้าโรงงานผลิตรถยนต์โดยตรง และอาจจะผลิตชิ้นส่วนทั้งหมดในโรงงาน หรือมีการรับชิ้นส่วนประเภทต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนโลหะ หรือชิ้นส่วนพลาสติก เพื่อการประกอบชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากโรงงานประเภทที่ 2 ได้

  2. บริษัทผู้ประกอบชิ้นส่วนยานยนต์จากวัตถุดิบ (Tier-2) บริษัทเหล่านี้จะมีขนาดที่เล็กลงมา และทำหน้าที่ในการผลิตชิ้นส่วนเพื่อการประกอบ เช่น ชิ้นส่วนโลหะที่ทำจากโรงงานปั้มโลหะ หรือชิ้นส่วนยางที่สามารถนำไปประกอบกับวัตถุอื่น ๆ ให้กลายเป็นชิ้นส่วนเพื่อการประกอบรถยนต์ได้

  3. 3.บริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบ ทำหน้าที่ในการผลิตวัตถุดิบ เช่น ปิโตรเคมี พลาสติก เหล็กหรือยาง เพื่อป้อนให้กับโรงงานทั้งเทียร์ 1 และเทียร์ 2 เพื่อทำการผลิตหรือประกอบเป็นชิ้นส่วน หรือเป็นวัสดุตั้งต้นในการการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น การป้อนเหล็กให้กับโรงงานปั้มโลหะ เพื่อการผลิตชิ้นส่วนโลหะ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการทำงานของโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หรือ Automotive parts ในประเทศไทยนั้น มีโครวข่ายที่เกี่ยวข้องกันอยู่อย่างเหนียวแน่น โดยผู้ผลิตที่เป็นต้นนำหรือผู้ผลิตวัตถุดิบนั้น มีความสำคัญในการเป็นต้นน้ำของการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ขาดไม่ได้เลย ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งเทียร์ 1 และเทียร์ 2 ก็มีความสำคัญซึ่งกันและกัน รวมถึงอาจจะมีการปรับตัว เพิ่มขนาดของโรงงานหรือชิ้นส่วนที่ผลิต ปรับสถานะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตลอดเวลา

      นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งตามประเภทของการใช้งานชิ้นส่วนอีกประเภทหนึ่ง เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณการใช้งานรถยนต์จำนวนมาก ทำให้มีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายทำการผลิตชิ้นส่วนสำหรับการทำตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้คร่าว ๆ ดังนี้

  1. การผลิตชิ้นส่วนเพื่อป้อนให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ (OEM) ซึ่งจะรวมถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งหมดที่พัฒนาและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อส่งให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดใดก็ตาม จะเริ่มจากการผลิตชิ้นส่วนโลหะ โรงงานปั๊มโลหะ โรงงานประกอบ และอื่น ๆ หากจบที่การเป็นส่วนประกอบของรถยนต์ก็อยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด

  2. การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สำหรับการเป็นอะไหล่ทดแทน (After Market) ซึ่งโรงงานหลายแห่งจะทำการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สำหรับตลาดอะไหล่รถยนต์ เพื่อทำตลาดกับผู้บริโภคโดยตรง ในการหาอะไหล่ทดแทนเมื่อมีการซ่อมบำรุงรถยนต์แต่ละครั้ง

      อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง จะต้องผลิตสำหรับ OEM หรือ After Market เท่านั้น โรงงานส่วนใหญ่นั้นมีศักยภาพในการผลิตที่หลากหลาย และสามารถรองรับการขยายตัวของตลาดรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ก็สามารถปรับตัวเพื่อรองรับลูกค้าทั้ง 2 ทางได้อย่างง่ายดาย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับโรงงานได้อีกต่างหาก

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่

 

    นอกจากนี้ ในหลาย ๆ ครั้ง ยังมีการแบ่งประเภทของการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ตามวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เนื่องจากหากนำรถยนต์หนึ่งคันมาแยกส่วนประกอบเป็นชิ้น ๆ ก็จะพบว่าเป็นการประกอบรวมกันของวัสดุและอุปกรณ์ที่มีที่มาเพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้น

      ซึ่งเอาจริง ๆ แล้ว ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน ก็สามารถจับมือกันเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและศักยภาพในการแข่งขันกันได้ ทำให้หลาย ๆ ครั้ง เราเห็นการแบ่งกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ออกมาตามลักษณะของงานหรือประเภทของงานที่ทำ ยกตัวอย่างเช่น

  • กลุ่มชิ้นส่วนที่ผลิตจากโลหะ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนโลหะ โรงงานประกอบโลหะ หรือโรงงานปั้มโลหะ ซึ่งเป็นต้นทางของการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เหล่านี้ ตัวอย่างชิ้นส่วนโลหะที่เราพบเห็นในรถยนต์ก็เช่น บานประตู ฝากระโปรง ตัวถังรถยนต์ เป็นต้น

  • กลุ่มชิ้นส่วนที่ผลิตจากพลาสติก ซึ่งปกติแล้วจะเป็นชิ้นส่วนที่อยู่ภายในห้องโดยสารของรถยนต์ตามตำแหน่งต่าง ๆ ของรถ แม้จะเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก แต่ก็เป็นชิ้นส่วนที่สัมผัสกับผู้ใช้รถมากอยู่เหมือนกัน

  • กลุ่มชิ้นส่วนระบบไฟฟ้า หรือ อิเลกทรอนิกส์ ที่รวมกันตั้งแต่ผู้ผลิตสายไฟ เซมิคอนดัคเตอร์ ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนระบบควบคุมต่าง ๆ ภายในตัวรถที่มีระบบไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบ ถือเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนรถยนต์ในยุคปัจจุบัน

      จะเห็นได้ว่าการแบ่งประเภทของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายและสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี และยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูงสุดในแต่ละปี เพื่อให้สามารถก้าวตามอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างเข้มแข็ง

      ทั้งนี้ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของรถยนต์ ทั้งประเภท รูปแบบและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาทำให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จะต้องมีการพัฒนาตัวเอง ทั้งการหาความรู้ การเรียนรู้เทคโนโลยีและการลงทุนใหม่ ๆ ที่จะทำให้สามารถก้าวตามการพัฒนาของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้ทั้งทั้งในประเทศไทยและในตลาดโลก

      อย่างที่บอกไปแล้วว่า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เป็นหัวใจหลักของประเทศไทย ที่สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง เคียงข้างการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์มาโดยตลอด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่างก็มีการปรับตัวและพัฒนามาอย่างมาก จนยากที่จะแยกออกมาเป็นประเภทหรือกลุ่มได้อย่างชัดเจน

      การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ติดตั้งเข้ามาในตัวรถ จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องปรับตัวตามกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพ ป้อนให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต่อไปในอนาคต

      ซึ่งในอนาคตเราอาจจะต้องแบ่งประเภทของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยหลักเกณฑ์และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งหากคุณกำลังมองหาโรงงานปั๊มขึ้นรูปโลหะ ที่มีความน่าเชื่อถือและชำนาญงาน บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะ DIE และ jig ตามแบบ Drawing ปั๊มโลหะตามแบบ ปั๊มขึ้นรูปโลหะ ปั๊มเหล็ก ปั๊มโลหะ ชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นงานโลหะและข้อกำหนดมาตรฐานจากลูกค้า อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐาน จาก ISO 9001:2015 /IATF 16949:2016 โดยลูกค้าในประเทศและต่างประเทศให้ความไว้วางใจ 

ดูรายละเอียดสินค้าและบริการ รวมถึงเครื่องจักรของเรา ได้ที่นี่ 
ติดต่อ บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง
โทร : 02-1166303
อีเมล : info@siammetalwork.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้